วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

รูปภาพประกอบโปรเจ็ค




โปรเจ็คเรื่องทหาร



รายงาน
เรื่องทหาร



จัดทำโดย

นางสาวสุภัทรา   คำวิชัย   คาบเรียนวันพุธเช้า



เสนอ

อาจารย์นวพร สายสิงห์


รายงานเล่มนี้เป็นส่วนของการศึกษาวิชาทักษะสาระนิเทศ
สาขาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร คณะเทคโนโลยีการจัดการ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2555







คำนำ
                            รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อประกอบการเรียนการสอนของนักศึกษาชั้นปีที่1  ซึ่งมีเนื้อหาสอดคล้องกับเรื่อง Trasformers1  และเป็นหนึ่งในรายวิชาทักษะทางสารนิเทศ                           ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่า  ข้อมูลและเนื้อหาของรายงานเล่มนี้   สามารถสร้างประโยชน์       และให้ความรู้ ความสำคัญแก่ผู้ที่ต้องการหาข้อมูล  และ สนใจในเรื่องที่เกี่ยวกับ “ทหาร”                                  ได้ไม่มากก็น้อย       หากผิดพลาดประการใด ข้าพเจ้าขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

                               นางสาวสุภัทรา   คำวิชัย
                                                                                                               18  กันยายน   2555



สารบัญ

        ความหมายและความสำคัญของอาชีพทหาร                                                1
        บทบาทและหน้าที่ของทหาร                                                                       1
        กองทัพบกไทย                                                                                             3
       กองทัพอากาศไทย                                                                                         7
        กองทัพเรือไทย                                                                                             9
        ภาคผนวก                                                                                                     11
        บรรณานุกรม                                                                                                12




                          ความหมายและความสำคัญของอาชีพทหาร                     
ทหาร หมายถึง ผู้มีหน้าที่ในเรื่องรบ นักรบ ผู้เป็นกำลังรักษาความมั่นคงและบำรุงประเทศและผู้เป็นกำลังรบและทำหน้าที่อื่นๆ ในยามสงคราม

หน้าที่ ภารกิจ และบทบาท
กองทัพมีหน้าที่เตรียมกำลังกองทัพ การป้องกันราชอาณาจักร และดำเนินการเกี่ยวกับการใช้กำลังกองทัพเตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม ตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551[2] ตลอดจนหน้าที่อื่นๆ ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล
จากหน้าที่ดังกล่าวทำให้กองทัพเรือมีภารกิจ คือ
การปกป้องเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
การรักษาสิทธิและอธิปไตยของชาติทางทะเล
การคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
การดำรงการคมนาคมทางทะเลให้ได้อย่างต่อเนื่อง
การช่วยเหลือและสนับสนุนการป้องกันอธิปไตยทางบก
การสนับสนุนการรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ
การสนับสนุนการพัฒนาประเทศและช่วยเหลือประชาชน


 บทบาทของกองทัพในปัจจุบัน คือ
การปฏิบัติการทางทหาร (Military Role) คือ การปฏิบัติการทางเรือเพื่อการป้องกันประเทศในรูปแบบต่างๆ ตามสถานการณ์ที่กระทบต่ออำนาจอธิปไตยและเอกราชของประเทศ ซึ่งจำเป็นต้องใช้กำลังทางเรือที่เข้มแข็ง ปฏิบัติการด้วยความเฉียบพลัน รุนแรง และเด็ดขาด
การรักษากฎหมายและช่วยเหลือ (Constabulary Role) คือ การรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ การรักษากฎหมายตามที่รัฐบาลมอบอำนาจ ให้ทหารเรือเป็นเจ้าหน้าที่รวม 28 ฉบับ รวมถึงการให้ความช่วยเหลือประชาชนและการพัฒนาประเทศ
การสนับสนุนกิจการระหว่างประเทศ (Diplomatic Role) คือ การสนับสนุนการดำเนินนโยบายและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของรัฐบาล และใช้หรือแสดงกำลังเพื่อสนับสนุนการเจรจาต่อรอง เมื่อมีการขัดกันในผลประโยชน์ของชาติหรือเหตุการณ์วิกฤติที่กระทบต่อผลประโยชน์ของชาติโดยตรง
  

กองทัพบกไทย
        กองทัพบกไทย เป็นเหล่าทัพที่มีประวัติความเป็นมายาวนานที่สุดและมีขนาดใหญ่ที่สุดในกองทัพไทย ก่อตั้งเป็นกองทัพสมัยใหม่ขี้นในปี พ.ศ. 2417 เหตุผลส่วนหนึ่งคือ เพื่อรับมือกับการคุกคามรุกแบบใหม่จากอังกฤษ ภายหลังการทำสนธิสัญญาเบาว์ริง และการเปิดประเทศใน พ.ศ. 2398
ประวัติ
กองทัพบกได้ถือกำเนิดมาพร้อม ๆ กับการก่อตั้งราชอาณาจักรไทย และเป็นรากฐานของความมั่นคงของประเทศตลอดมา การปฏิรูปการทหารบกของไทยเป็นแบบตะวันตก ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือต้นแบบของกิจการทหารบกสมัยปัจจุบัน
กองบัญชาการกองทัพบก สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงราชสมบัติ เมื่อ พ.ศ. 2394 กิจการแรกที่พระองค์ทรงกระทำ คือ ทรงตั้งเจ้าพระยาพระคลัง (ดิส บุนนาค) ว่าที่สมุหพระกลาโหมขึ้นเป็น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ ดำรงตำแหน่งสมุหพระกลาโหม และให้จัดการเรื่องกิจการทหารเป็นการด่วน โดยให้ปรับปรุงกองทัพบกให้เป็นแบบสมัยใหม่ และมีประสิทธิภาพที่สามารถป้องกันประเทศชาติได้ ทั้งนี้ เพราะประเทศมหาอำนาจทางตะวันตกได้แผ่อิทธิพลเข้ามา อยู่เหนือประเทศทางภูมิภาคเอเซียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ และมีท่าทีคุกคามต่อประเทศไทยยิ่งขึ้นตามลำดับ สำหรับการปรับปรุงในด้านวิทยาการนั้น พระองค์ทรงจ้าง ร้อยเอก อิมเปย์ และ ร้อยเอก น็อกส์ ชาวอังกฤษ ซึ่งเดินทางจากอินเดียผ่านเข้ามาทางพม่า ให้เป็นครูฝึกหัดทหารบก ทั้งทหารของวังหน้าและวังหลวง ดังนั้นใน พ.ศ. 2395 กองทหารที่ได้รับการฝึกและจัดแบบตะวันตก     กิจการทหารบกได้รุดหน้าไปอีก เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศ ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการกองทหารหน้าใน พ.ศ. 2398 พระองค์ทรงรวบรวมกองทหารที่อยู่อย่างกระจัดกระจายทั่วกรุงเทพฯ มารวมไว้ที่เดียวกัน คือโรงทหารสนามไชย กองทหารดังกล่าวคือ


กองทหารฝึกแบบยุโรป (เดิมอยู่ริมคลองโอ่งอ่างฝั่งตะวันออก)
กองทหารมหาดไทย (ซึ่งถูกเกณฑ์มาจากหัวเมืองฝ่ายเหนือ)
กองทหารกลาโหม (ซึ่งถูกเกณฑ์มาจากหัวเมืองฝ่ายใต้)
กองทหารเกณฑ์หัด (คือพวกขุนหมื่นสิบยก กองทหารเกณฑ์หัดนี้ ขึ้นกับกองทหารหน้า)
จะเห็นได้ว่า การจัดการทหารบกแบบตะวันตกหรือกองทัพบกปัจจุบันนี้เริ่มขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว แต่เป็นไปในวงแคบ อำนาจในการปกครองบังคับบัญชาทหารในกรุงเทพฯ แยกออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ทหารที่สังกัดพระบรมมหาราชวังขึ้นโดยตรงต่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนทหารที่สังกัดพระบวรราชวัง หรือวังหน้า ขึ้นโดยตรงต่อ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนทหารในหัวเมืองก็แยกขึ้นกับ สมุหพระกลาโหม และสมุหนายก
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ พระองค์มิได้แถลงพระบรมราโชบายในการจัดการทางทหารไว้เป็นที่เด่นชัด อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาถึงสภาวการณ์ และสิ่งแวดล้อมอื่นๆ รวมทั้งวิธีการทางทหาร ตลอดจนพระปรีชาญาณในการบริหารประเทศแล้วอาจพิจารณาได้ว่า พระองค์น่าจะทรงมีพระราชประสงค์ในการจัดการทางทหารเป็น 2 ประการ คือ
การปฏิรูปการทหารเพื่อความมั่นคงแห่งราชบัลลังก์
การปฏิรูปการทหารเพื่อความเจริญทางด้านการทหารเอง และให้เหมาะสมกับกาลสมัย ตลอดจนสามารถรักษาความปลอดภัยให้แก่ประเทศชาติ
เนื่องจาการทหารในสมัยนั้นยังเป็นไปในลักษณะกระจัดกระจาย อยู่ในสังกัดอำนาจของบุคคลหลายฝ่าย จึงทำให้การปฏิรูปการทหารของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในระยะแรกมีขอบเขตจำกัด ต่อมาใน พ.ศ. 2415 ภายหลังจากการเสด็จไปประพาสสิงคโปร์และปัตตาเวียแล้ว พระองค์โปรดให้ปรับปรุงการทหารให้กาวหน้ายิ่งขึ้น โดยนำแบบอย่างการทหารที่ชาวยุโรปนำมาฝึกทหารในอาณานิคมของตน แต่ได้ดัดแปลงแก้ไขให้เหมาะสมกับสภาพของประเทศไทย โปรดให้แบ่งหน่วยทหารออกเป็น 7 หน่วย ดังนี้

กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
กรมทหารรักษาพระองค์
กรมทหารล้อมวัง
กรมทหารหน้า
กรมทหารปืนใหญ่
กรมทหารช้าง
กรมทหารฝีพาย
พ.ศ. 2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงหารือกับพระบรมวงศานุวงศ์และเสนาบดี ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า ควรจัดการทหารอย่างใหม่เป็นระเบียบแบบแผนและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดังนั้น ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2430 จึงได้มี "ประกาศจัดการทหาร" ขึ้น โดยตั้ง "กรมยุทธนาธิการ" มีลักษณะเป็นกรมกลางของทหารบก และทหารเรือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงพระราชอิสริยยศตำแหน่ง "จอมทัพ" สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ทรงเป็น "ผู้บังคับบัญชาการทั่วไป" และเพื่อให้หน่วยทหารได้รับการบังคับบัญชาดูแลได้ทั่วถึง จึงทรงแต่งตั้งตำแหน่งผู้ช่วยเหลือผู้บังคับบัญชาทั่วไปอีก 4 ตำแหน่ง คือ
เจ้าพนักงานใหญ่ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
เจ้าพนักงานใหญ่ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ
เจ้าพนักงานใหญ่ ผู้บัญชาการใช้จ่าย
เจ้าพนักงานใหญ่ ผู้บัญชาการยุทธภัณฑ์
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิสต์ ประเทศอังกฤษ ทั้งยังทรงรับราชการในกรมทหารราบเบาเดอรัม และค่ายฝึกทหารปืนใหญ่ นับว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ได้ทรงศึกษาวิชาทหารบกจากต่างประเทศโดยเฉพาะ เมื่อพระองค์เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ จึงทรงปรับปรุงกิจการทหารบกให้ดียิ่งขึ้น และเจริญก้าวหน้าตามแบบอย่างทหารในทวีปยุโรป พระองค์ทรงให้มีการเปลี่ยนแปลงการบริหารกิจการทหารใหม่ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2453 โดย
เปลี่ยนชื่อกรมยุทธนาธิการ เป็น กระทรวงกลาโหม มีหน้าที่ดูแลการปกครองเฉพาะกิจการทหารบก
ยกกรมทหารเรือ ขึ้นเป็น กระทรวงทหารเรือ
จัดตั้งสภาป้องกันพระราชอาณาจักร ทำหน้าที่ประสานงานระหว่างกระทรวงกลาโหม และกระทรวง


   
กองทัพอากาศไทย
        กองทัพอากาศไทย (อักษรย่อ: ทอ.,อังกฤษ: Royal Thai Air Force : RTAF) เกิดขึ้นภายหลังจากการจัดตั้งกองทัพอากาศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นกองทัพอากาศหน่วยแรกของโลกเพียง 4 ปีเท่านั้น ถือได้ว่าเป็นกองทัพอากาศที่ก่อตั้งเป็นลำดับแรกๆ ของเอเชีย และมีวีรกรรมครั้งสำคัญเกิดขึ้นมากมายในช่วงกรณีพิพาทไทย-อินโดจีนฝรั่งเศส ปัจจุบันมีกองบัญชาการอยู่ที่เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ และภายในปี พ.ศ. 2554 หลังจากได้รับมอบฝูงบิน Gripen กับเครื่องบินเตือนภัยทางอากาศจากบริษัท Saab และการปรับปรุงครึ่งชีวิตให้กับฝูงบิน F-16-A/B ให้มีมาตรฐานเทียบเท่ากับรุ่น C/D กองทัพอากาศไทยจะมีอิทธิพลทางอากาศมากเป็นอันดับที่สองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รองจากสิงคโปร์ในแง่ของขีดความสามารถและความทันสมัยของอากาศยาน
แนวความคิดที่ให้มีเครื่องบินใช้ในราชการ ได้เริ่มขึ้นในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เมื่อชาวเบลเยี่ยมชื่อ Van Den Born ได้นำเครื่องบินแบบออร์วิลไรท์มาแสดงการบินในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ณ สนามม้าสระปทุม เพื่อเป็นการแสดงการบินสู่สายตาประชาชนชาวไทยในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2453(ค.ศ. 1911) จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ขณะนั้นทรงดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารบกทรงเห็นความจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องจัดหาอากาศยานไว้ป้องกันประเทศ จึงทรงดำริจัดตั้งกิจการการบินขึ้นเป็นแผนกหนึ่งของกองทัพบก อยู่ที่สนามราชกรีฑาสโมสร (สนามม้าสระปทุม) อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลโท พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมขุนกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน จเรทหารช่าง และส่งนายทหารไปเรียนวิชาการบินที่ประเทศฝรั่งเศส จำนวน 3 นายประกอบด้วย
นายพันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ (สุณี สุวรรณประทีป) ต่อมาเป็น พลอากาศโท พระยาเฉลิมอากาศ
นายร้อยเอก หลวงอาวุธสิขิกร (หลง สินศุข) ต่อมาเป็น นาวาอากาศเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์
นายร้อยโท ทิพย์ เกตุทัต ต่อมาเป็น นาวาอากาศเอก พระยาทะยานพิฆาต
ทั้งสามท่านได้เข้าเรียนที่บริษัทนีเออร์ปอร์ต (Nieuport Company) ในเดือนมกราคมปี พ.ศ. 2454
หลังจากท่านทั้งสามสำเร็จวิชาการบิน ก็ได้ซื้อเครื่องบิน 2 แบบ 8 ลำ คือ Nieuport และ Breguet แบบละ 4 ลำ โดยระยะแรกได้ใช้สนามม้าสระปทุมเป็นสนามบิน แต่ด้วยปัญหาบางประการทำให้สนามม้าสระปทุมไม่สามารถรองรับกิจการการบินที่เติบโตขึ้นได้ จอมพลสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ ทรงย้ายที่ตั้งแผนกการบิน มาที่ตำบลดอนเมืองตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2457 และทรงยกฐานะแผนกการบิน เป็น"กองบินทหารบก" ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2457 ต่อมากระทรวงกลาโหมได้ยึดถือวันนี้เป็น "วันที่ระลึกกองทัพอากาศ"
หลังจากนั้นกิจการการบินได้เติบโตเรื่อยมา โดยกองบินทหารบกได้เข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 กับฝ่ายสัมพันธมิตร กองบินทหารบกจึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "กรมอากาศยานทหารบก" หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2464 ด้วยการเติบโตของกำลังทางอากาศ จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "กรมทหารอากาศ" และวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2480 จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "กองทัพอากาศ" มียศและเครื่องแต่งกายเป็นของตนเอง โดยนาวาอากาศเอก พระเวชยันต์รังสฤษฎ์ เป็นผู้บัญชาการทหารอากาศคนแรก จึงถือเอาวันนี้เป็น "วันกองทัพอากาศ" และยกย่องถวายพระเกียรติจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ว่าเป็น "พระบิดาแห่งกองทัพอากาศไทย" และยกย่องนายทหาร 3 ท่าน ที่ไปเรียนวิชาการบินรุ่นแรกว่าเป็น "บุพการีทหารอากาศ"
กองทัพอากาศได้สร้างวีรกรรมและยุทธเวหาไว้มากมาย โดยเข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามอินโดจีน สามารถสร้างความพรั่นพรึงให้กับอริราชศัตรูของชาติได้อย่างมาก
ปัจจุบัน กองทัพอากาศมีกำลังทางอากาศทั้งสิ้น 11 กองบิน กับ 1โรงเรียนการบิน โดยมีอากาศยานรวมเกือบ 320 ลำ
นอกจากนี้ กองทัพอากาศดอนเมือง ยังเคยเป็นสถานที่แข่งขันรายการเกมโชว์ทางโทรทัศน์อัจฉริยะข้ามคืน ล้านที่ 3 อีกด้วย


กองทัพเรือไทย
        กองทัพเรือไทย หรือ ราชนาวี (คำย่อ : ทร. ชื่อภาษาอังกฤษ : Royal Thai Navy คำย่อภาษาอังกฤษ : RTN) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อการปฏิบัติการทางทหารในทะเล ลำน้ำ และพื้นที่บริเวณชายฝั่งของประเทศไทย กองทัพเรือมีจำนวนกำลังพลประจำการเป็นลำดับ 2 (รองจากกองทัพบก) ซึ่งมีเรือปฏิบัติการด้วยเรือรบกว่า 340 ลำ อากาศยานกว่า 90 เครื่อง และกำลังรบทางบกอีก 2 กองพล นับเป็นกองทัพเรือที่มีความสำคัญในลำดับต้นของภูมิภาคเอเชีย กองทัพเรือมีผู้บัญชาการทหารเรือเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด โดยเป็นหน่วยงานในสังกัดของกองบัญชาการกองทัพไทย ที่มีผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชา และอยู่ในสังกัดของกระทรวงกลาโหม
กองทัพเรือมีพื้นที่ปฏิบัติการหลักทั้งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ตามแนวเขตแดนระหว่างประเทศในทะเลความยาวกว่า 1,680 ไมล์ และตามแนวชายฝั่งความยาวกว่า 1,500 ไมล์ หน่วยต่างๆ ในสังกัดกองทัพเรือมีลักษณะการจัดโครงสร้างหน่วยที่คล้ายกับกองทัพเรือสหรัฐอเมริกามาก โดยเฉพาะในหน่วยกำลังรบ คือ กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ (กบร. กร.) หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ (นสร. กร.) และหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน (นย.)
  
 ทหาร  

บรรณานุกรม
รัติกร  สุขทรัพย์. ทหารไทยในสนามรบ. กรุงเทพฯ : ธุรกิจการพิมพ์,2544.

กุลยา  วาโย  และ  ประคอง  พรชำนิ. (2536).“ทหารเรือ”.  ใน มยุรา  กาญจนางกูร (บรรณาธิการ).  เอกสาร       ________การสอนชุดวิชามโนมติและกระบวนการพยาบาลทหารเรือ หน่วยที่ 2 - 15.  (หน้า 49- 78).    ________กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิทยา  นาควัชระ.  "ชีวิตของผู้อุทิศ” : อาชีพทหาร" สกุลไทย.  40(2047) :  191 - 192 ; 26 ตุลาคม 2544.

พิมลพรรณ   พิทยานุกูล. กองทัพทหาร. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http://th.wikipedia.org/wiki .                                 .            (วันที่ค้นข้อมูล : 16 กันยายน 2555).

  เรวัติ  ยศสุข. "ประเภทของทหาร". [ออนไลน์]. 6(6) เข้าถึงได้จาก :          ……………http://sftanaka.blogspot.com/2009/12/blog-post.html .  (วันที่ค้นข้อมูล : 16 กันยายน 2555).




บรรณานุกรมโปรเจ็ค เรื่องทหาร


วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทดสอบเขียนบรรณานุกรมหนังสือ



ประเวศ  วะสี.  (2547).  กระบวนการนโยบายสาธารณะ.  กรุงเทพฯมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ. 
อำพล  ซื่อตรง.  (2535).  การจัดศูนย์บริการรถยนต์.  กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งสริมวิชาการ.
บุญธรรม  ภัทราจารุกุล.  [ม.ป.ป.].  ชิ้นส่วนเครื่องกล.  [ม.ป.ท.]: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ภาคิน  วังสถิตธรรม.  (2555)  ใช้รถ ต้องรู้.  [ม.ป.ท.]: ธนิดา  วังสถิตธรรม.
ฝ่ายวิชาการเอ็กซเปอร์เน็ท.  (2555).  อาเซียน 360 องศา.   [ม.ป.ท.]: บิสคิต.
โรว์ลิ่ง, เจ.เค.  (2544).  แฮรี่พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี.  (งามพรรณ เวชชาชีวะผู้แปล).  [ม.ป.ท.]: นามมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
Foster, Dean Alan.  (2007).  Transforsmer.   [n.p.]: Random  House.




วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ทดสอบโพสบทความ

มาตรฐานเว็บนักศึกษา

  • ตั้งชื่อเว็บโดยขึ้นต้นด้วย IL155คาบเรียน-ชื่อจริง (เป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด)
  • เมนูด้านข้างต้องประกอบด้วย Gadget ต่อไปนี้ คือ ข้อความแนะนำตัว, ลิงก์ และป้ายกำกับ โดยให้ข้อความแนะนำตัวขึ้นเป็นรายการแรก
  • ภายใต้ Gadget ลิงก์ ให้มีลิงก์ของเว็บต่อไปนี้ คือ เว็บอาจารย์, Mediafire, GooleDocs, Ckassmarker
  • แก้ไขโปรไฟล์โดยการใส่ภาพถ่าย 
  • ห้ามโพสต์ภาพและข้อความที่ไม่เหมาะสม
  • การ Copy ภาพและข้อความจากเว็บอื่น  ให้ระบุที่มาและ Copy ลิงก์ของเว็บต้นแหล่งมาไว้ให้ทราบด้วย

    
        credit pic to original upload